การประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 20/2566

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 20/2566 โดยมี นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ นำโดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อน นโยบาย ‘เรียนดี มีความสุข’ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน สร้างโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนและผู้ปกครองมีสุขนั้น

สพฐ. จึงได้จัดประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. โดยตั้งเป้าหมายระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารของแต่ละสำนักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันแบบ One Team เพื่อเร่งนำนโยบายไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานแก่ รมว.ศธ. ให้ทราบต่อไป

สำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 20/2566 ได้หารือข้อราชการ อาทิ การเตรียมดำเนินการเพื่อจัดกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา มหาราชา การขับเคลื่อนนโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ การขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคล การขับเคลื่อนนโยบายระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) การหารือแต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือหนี้สินครู โครงการยกระดับพัฒนาระบบบริหารสู่ระบบราชการ 4.0 และตัวชี้วัดระดับราชการของ สพฐ. การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังเพื่อช่วยเหลือสถานศึกษาที่ประสบเหตุอุทกภัย สพฐ. (ร่าง) นโยบายและจุดเน้นการพัฒนาการศึกษา สพฐ. การขับเคลื่อนการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนของ สพฐ. การขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ การขับเคลื่อนนักจิตวิทยาโรงเรียน การขับเคลื่อนดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทักษะการเรียนเฉพาะด้าน หรือ Learning Disorder (LD) การจัดทำหนังสือรายชื่อและเบอร์โทรศัพท์ผู้บริหาร สพฐ. เป็นต้น

 

ข่าวโดย : นางสาวฐิติมา ชาลีกุล

ที่มา >>> https://www.obec.go.th/archives/898209<<<

การประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 19/2566

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 19/2566 โดยมี นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ. ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ นำโดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อน นโยบาย ‘เรียนดี มีความสุข’ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน สร้างโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนและผู้ปกครองมีสุขนั้น

สพฐ. จึงได้จัดประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. โดยตั้งเป้าหมายระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารของแต่ละสำนักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันแบบ One Team เพื่อเร่งนำนโยบายไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานแก่ รมว.ศธ. ให้ทราบต่อไป

สำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 19/2566 ได้หารือข้อราชการ อาทิ การแต่งตั้งทีมโฆษก สพฐ. เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการประชาสัมพันธ์ การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง จำนวน 5 ท่าน การเสนอแนะในการจัดทำ Quick Win ของ สพฐ. การเสนอปรับแนวทางในการบริหารงานบุคคลเรื่องของการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะครูและผู้บริหารสถานศึกษา การเสนอปรับเกณฑ์การย้ายครูคืนถิ่น การจัดทำ Poll เพื่อสำรวจความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง การขับเคลื่อนการช่วยเหลือหนี้ครู โดยแบ่งกลุ่มความจำเป็นมากน้อยในการเร่งช่วยเหลือ เพื่อไกล่เกลี่ย และให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงิน การเสนอลดภาระการจัดซื้อจัดจ้างในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี) การเสนอผลงานดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพ และแผนดำเนินงานขับเคลื่อน โครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพในแต่ละอำเภอหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การเสนอแผนการดำเนินงานโรงเรียนพระราชดำริ การจัดตั้งงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 และการปรับแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 การดำเนินงานเรื่อง Credit Bank การเทียบโอนวุฒิ การจัดทำแพลตฟอร์มและ Content และการดำเนินงานและแผนพัฒนาการดำเนินงานของ Obec Content Center สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” การนำเสนอความคืบหน้าการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนของ สพฐ. (OBEC Poll) เป็นต้น

ข่าวโดย : นางสาวฐิติมา ชาลีกุล

ที่มา >>>https://www.obec.go.th/archives/894665<<<